วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560
งานวิจัยที่แปลแล้ว
Cruise
tourism environmental impacts – The perspective from the Adriatic Sea
(ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวล่องเรือ
- มุมมองจากทะเลอาเดรียติค)
การท่องเที่ยวล่องเรือสำราญเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เนื่องจากมีการเดินทางท่องเที่ยวไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ๆเสมอ และเป็นธุรกิจที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาที่ต้องการเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ
และธุรกิจล่องเรือสำราญนี้ก็ได้ส่งผลกระทบมากมายต่อสภาพแวดล้อม เช่น น้ำดำ
น้ำสีเทา ขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย น้ำมันรั่ว น้ำในอับเฉาเรือ และมลพิษทางอากาศ
แต่ถึงอย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้านการล่องเรือสำราญก็ยังเป็นที่นิยมของคนทั่งโลกและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
น้ำดำ เป็นสิ่งปฏิกูลจากห้องน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อลำไส้
การปล่อยน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดหรือได้รับการบำบัดไม่เพียงพออาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของแบคทีเรียและไวรัสสามารถนำไปสู่การทำลายสิ่งมีชีวิตในน้ำได้
น้ำสีเทา คือน้ำเสียจากอ่างล้างมือ ห้องอาบน้ำ ห้องซักรีด
และน้ำที่มาจากการทำความสะอาดเรือ ซึ่งน้ำเหล่านี้มีสารพิษรวมทั้งแบคทีเรียโคลิฟอร์ม สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์เนื่องจากความเข้มข้นของเคมีที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเล
ขยะมูลฝอย ได้แก่ แก้ว กระดาษ กระดาษแข็ง อลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก
และพลาสติก ซึ่งขยะเหล่านี้มีอันตรายและไม่มีอันตรายต่อธรรมชาติ โดยขยะมูลฝอยเหล่านี้อาจเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเล
ชุมชนชายฝั่งทะเล และอุตสาหกรรมที่ใช้น่านน้ำทะเล
ของเสียอันตราย เกิดจากการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆบนเรือ รวมถึงการทิ้งสารเคมี
แบตเตอรี่ทางการแพทย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ สีที่ใช้แล้วและทินเนอร์ เป็นต้น
น้ำมันรั่ว คราบน้ำมันยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประมงและการเพาะลี้ยงชายฝั่ง เช่น สัตว์น้ำตายจากคราบน้ำมัน ขาดออกซิเจน ชายหาดสกปรกจากคราบน้ำมัน
ทำลายทัศนียภาพ มีกลิ่นเหม็น ไม่เหมาะกับการท่องเที่ยวและพักผ่อน
ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่นและระดับประเทศซึ่งความรุนแรงของผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งชนิดของน้ำมัน
ปริมาณที่รั่วไหล กระแสน้ำ กระแสลม เป็นต้น
น้ำในอับเฉาเรือ
น้ำในอับเฉาเรือหรือน้ำที่ติดมากับเรือเดินทางอาจเป็นที่สะสมของสิ่งมีชีวิตในน้ำนับล้านล้านชีวิต
เมื่อน้ำถูกเปลี่ยนถ่ายลงสู่ทะเลหรือท่าเรือที่มีสภาวะแวดล้อมต่างกันจะเกิดปัญหาเชื้อโรคตามมาทำให้สิ่งมีชีวิตจากที่หนึ่งปนเปื้อนสู่อีกที่หนึ่งและผลเสียที่เกิดขึ้นคือสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์จะปะปนเข้าสู่สิ่งแวดล้อมใหม่และจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ให้โทษแก่สิ่งมีชีวิตประจำถิ่นหรืออาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ได้
มลพิษทางอากาศ
เกิดจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์และได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
ตลอดจนผลกระทบด้านสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์เนื่องจากสารพิษเหล่านี้เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์
และนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบทางด้านทัศนะวิสัยการมองเห็นอีก
ดังนั้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดจากการล่องเรือสำราญต้องอาศัยการร่วมมือจากหลายหน่วยงานเพื่อสามารถดำเนินการบรรเทาผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
โดยควบคุมและแก้ปัญหาการลักลอบปล่อยทิ้งของเสียจากเรือ
และสร้างความตระหนักให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจเรือสำราญ
การเดินทางทางเรือนั้นได้มีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่สมัยอียิปต์
โรมัน และกรีก และได้มีการปรับปรุงด้านรูปทรงและความเร็วขึ้น
โดยยุคแรกจุดประสงค์ของการเดินทางเพื่อการค้าไม่ใช่เพื่อการโดยสาร
หลังจากนั้นประมาณศตวรรษที่ 20 มีการพัฒนาเรือให้มีการเดินทางในระยะไกลมากขึ้น
เรือก็จะเป็นแบบเรือบรรทุกขนาดใหญ่ และในขณะเดียวกันเส้นทางเดินเรือมีการเปิดกว้างมากขึ้นไป
และหลังจากนั้นก็มีการเติบโตขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น
และธุรกิจต่างๆก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงและพัฒนาในแง่ของโครงสร้างเรือ
และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆตลอดจนรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้าอย่างเช่นปัจจุบัน
ลักษณะของเรือสำราญ
เรือสำราญ เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรือที่เหมาะสำหรับการเดินทางของคู่รัก เพราะบรรยากาศที่มีกลิ่นอายโรแมนติก หรือสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินทางแบบตื่นเต้น ผจญภัย เรือสำราญสามารถเป็นตัวเลือกที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกเพศทุกวัย สำหรับการเดินทางเพื่อความโรแมนติก เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1920 ซึ่งเป็นการเดินทางขอลกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยเป็นหลัก ต่อมาในปี ค.ศ.1960 นักเดินทางได้ขยายมาเป็นกลุ่มคนทั่วไปมากขึ้น เพราะบริษัทต่างๆที่ทำธุรกิจเรือสำราญได้พยายามปรับปรุง เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวเดินทางทางเรือสำราญกันน้อยลง เนื่องมาจากการพัฒนาด้านการขนส่งทางอากาศ ที่มีความสะดวกสบายกว่าและก็มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาต่อมา
ประเภทของเรือสำราญ
รูปแบบการท่องเที่ยวทางเรือ เป็นแรงจูงใจอีกประเภทที่นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชื่นชอบเป็นอย่างมาก ธุรกิจการท่องเที่ยวทางเรือจึงสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้อย่างหลากหลาย โดยแบ่งประเภทของเรือสำราญ ดังนี้
แหล่งอ้างอิง : พชรมน วิภาตนาวิน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเรือสำราญทานอาหารค่ำชมทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2560, จาก http://www.info.ms.su.ac.th/sums02/PDF01/2558/GB/48.pdf
1. World Cruise
การเดินเรือประเภทนี้จะเป็นการท่องเที่ยวรอบโลก เป็นการพักผ่อนสำหรับผู้ที่มีเวลา และความสามารถที่จะเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากได้ การบริการจะเป็นแบบส่วนตัว ชั้นหนึ่ง อาหารอย่างดี ค่าใช้จ่ายของการเดินทางประเภทนี้จะตกอยู่ประมาณ 1 ล้านบาท ถึง 6 ล้านบาท เป็นราคาสำหรับการเดินทางด้วยเรือ Queen Elizabeth 2 ด้วยเหตุที่ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวสูงมาก ทำให้ตลาดการท่องเที่ยวทางเรือรูปแบบนี้ค่อนข้างจำกัด
2. Theme Cruise / Special-interest Cruise
การเดินทางประเภทนี้ ผู้ประกอบการต่างๆ พยายามที่จะมีการสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นความสนใจเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันไป แบ่งได้เป็นหลายประเภท ได้แก่
- เพื่อการสันทนาการพักผ่อน เช่น กีฬา เกมส์
- เพื่อความบันเทิง เช่น กิจกรรมดนตรี โอเปร่า การแสดงละครและภาพยนตร์
- เพื่อการศึกษา
- เพื่อมุ่งเน้นด้านสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย
- เพื่อมุ่งเน้นกิจกรรมที่เป็นงานอดิเรก
นอกจากนี้ยังมีอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งบางบริษัทที่ขนาดเล็ก จะจัดกิจกรรมการเดินทางเพื่อการผจญภัย และเป็นแบบวิชาการเสริมความรู้ สำหรับนักท่องเที่ยวที่เป็นนักวิชาการ หรือนักเรียน นักศึกษา เพื่อที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ โบราณคดี มนุษยวิทยา เป็นต้น
3. Freighter Cruise
เรือประเภทนี้เป็นเรือบรรทุกสินค้า ที่จัดบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็นอีกทางเลือกของนักเดินทางที่ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายจากเส้นทางเดินเรือโดยทั่วไป แต่จะมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว เพราะหากนักท่องเที่ยวมีเป็นจำนวนมากเกินไป จะต้องมีการจัดแพทย์ประจำเรือส่วนมากจะไม่เกิน 12 คนเท่านั้น ส่วนลักษณะของที่พักที่จัดไว้สำหรับบริการ จะมีลักษณะที่คล้ายกับเรือสำราญทั่วๆไป ส่วนในเรื่องของราคานั้นจะอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกหรือความบันเทิงต่างๆ จะจัดให้เท่าที่สามารถทำได้ เพราะจุดประสงค์ก็เพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการผจญภัย ดังนั้นจะไม่เน้นความสะดวกสบายเท่าใดนัก
4. River Cruise
สำหรับเรือประเภทนี้ก็มีลักษณะทั่วๆไปที่คล้ายกับเรือที่กล่าวมาข้างต้น นั่นคือจะเป็นการนำนักท่องเที่ยวไปชื่นชมกับบรรยากาศของเรือที่กำลังแล่นผ่านเส้นทางน้ำต่างๆ ที่ต่างๆ ระหว่างการเดินทางบรรยากาศจะเงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน
5. Yacht Charter
สำหรับการเดินทางประเภทนี้ จะเดินทางด้วยเรือยอร์ช เป็นเรือที่ไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวเช่าเพื่อเดินทางท่องเที่ยวได้ตามความต้องการ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน
ประเภทแรก กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เช่าเรือจะเป็นผู้กำหนดเส้นทางเดินเรือด้วยตนเอง ไม่มีลูกเรือประจำบนเรือ นักท่องเที่ยวจะเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์เป็นลูกเรือหรือทหารเรือมาก่อน
ประเภทที่สอง นักท่องเที่ยวจะเช่าเพื่อเดินทางเป็นกลุ่ม และจะตัดสินใจเลือกเส้นทางการเดินเรือด้วยตนเอง แต่จะมีลูกเรือเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่บนเรือ
6. Point-to-Point Crossing
เรือประเภทนี้รู้จักในนาม เรือข้ามฟาก เพื่อบริการแก่นักเดินทางที่ต้องการเดินทางระยะไกล แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเดินทางโดยเครื่องบินก็มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางทางเรือ แต่ข้อได้เปรียบของเรือก็มีเช่นกัน นั่นคือ
- เป็นการตอบสนองแก่นักเดินทางที่ไม่ชอบการเดินทางด้วยเครื่องบิน
- ผู้โดยสารสามารถที่จะขนสัมภาระสิ่งของได้มากกว่าทางเครื่องบิน
- ถ้านักเดินทางมีสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ การเดินทางทางทะเลระยะไกล สิ่งสำคัญคือนักท่องเที่ยวต้องมีการวางแผนเรื่องเวลาด้วย เนื่องจากการเดินทางอาจล่าช้ากว่ากำหนดได้
- ข้อได้เปรียบในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ประหยัด
แหล่งอ้างอิง : พชรมน วิภาตนาวิน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเรือสำราญทานอาหารค่ำชมทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2560, จาก http://www.info.ms.su.ac.th/sums02/PDF01/2558/GB/48.pdf
แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเรือสำราญ
ไพฑูรย์ มนต์พานทอง (2558) ได้บอกถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมเรือสำราญว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมเรือสำราญในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวเรือสำราญตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 จนถึงปัจจุบัน พบว่าจำนวนนักท่องเรือสำราญมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค โดยเกินครึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจากอเมริกา รองลงมาเป็นกลุ่มยุโรป และมีการคาดการณ์แนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต แม้ว่าจะเผชิญกับวิกฤติและปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด หรือแม้แต่อุบัติเหตุจากเรือสำราญ แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเรือสำราญในทวีปเอเชียมีจำนวนไม่มากนักหากเปรียบเทียบกับภูมิภาคหลักอื่นๆ หากพิจารณาอัตราการเจริญเติบโตพบว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วและน่าสนใจ
แนวโน้มในประเทศ
นิธี สีแพร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว (ททท.) ระบุว่า โอกาสสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวทางเรือในประเทศไทย เห็นภาพได้ชัดขึ้น เมื่อ คอสตา ครุยส์ ผู้ให้บริการท่องเที่ยวสัญชาติอิตาลี ขยายการเดินเรือสำราญ คอสตา วิกตอเรีย เข้ามายังอ่าวไทย และการเข้ามาของคอสตา วิกตอเรีย เป็นแนวโน้มและโอกาสที่ดีที่เราจะต้องฉกฉวย ในการพัฒนาตัวเองให้เป็นท่าเรือหลัก เพราะจุดนี้ประเทศไทยก็ถือเป็นฮับของอาเซียนแล้วในการเดินทางทางอากาศ ถ้าเราสามารถพัฒนาการท่องเที่ยวทางเรือ เราจะมีโอกาสได้นักท่องเที่ยวกลุ่มเพื่อนบ้าน รวมถึงจีนตอนล่าง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของการเดินทางทางเรือสำราญได้
แหล่งที่มา :
ไพฑูรย์ มนต์พานทอง.2558.TAT Review Magazine.การท่องเที่ยวเรือสำราญกับความท้าทายของประเทศไทย.
นิธี สีแพร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว .2555. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2-5 (4)
ข่าวแนวโน้ม
ญี่ปุ่นหวังเป็น “ฮับ” เรือสำราญหนุนการท่องเที่ยว
กระทรวงที่ดิน ระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น
เตรียมยกระดับท่าเรือในประเทศ 2 แห่ง ให้กลายเป็นฮับเรือสำราญระหว่างประเทศหวังรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่โดยสารด้วยเรือสำราญที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
หลังจากที่ตัวเลขเมื่อปี 2559 ระบุว่านักท่องเที่ยวเดินทางมาญี่ปุ่นโดยใช้เรือสำราญทั้งหมด
1.99 ล้านคน คิดเป็นเกือบ
5 เท่าจากปี 2557
แต่ทางกลับกันประเทศไทยก็ได้มีการเคาะงบประมาณโดย ค.ร.ม. ถึง 15 ล้านบาทโดยมหกรรมเรือสำราญที่ภูเก็ตต้นปีที่ 59 ที่ผ่านมาเพื่อหวังกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ
แหล่งอ้างอิง :
โพสต์ทูเดย์เศรษฐกิจภาครัฐ(2558).เคาะภูเก็ตจัดมหกรรมเรือสำราญต้นปี 59.สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560,
Cruise Shipping Asia-Paclfic 2012
1. บอกแนวโน้มอุตสหกรรมเรือสำราญได้
มีแนวโน้มขยายตัวสูงในทางตลาดของภูมิภาคเอเชียเฟซิกฟิกในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเรือสำราญในอนาคต
2. อภิปายปัญหาสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเรือสำราญได้
- คราบน้ำมันที่เกิดจากเรือสำราญ
- การสร้างขยะจากเรือสำราญ
ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก
แหล่งอ้างอิง :
เด่นเดือน เหล๊งเซิง , วิภภาดา
น้อยพานิช. (2556,25 เมษายน).
Cruise Shipping Asia-Paclfic 2012. TAT Review Magazine , 1(2), หน้า 1
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเรือสำราญ
แหล่งอ้างอิง :
จากงานวิจัยเรื่องการประเมินผลกระทบของสิ่งแวดล้อมได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเรือสำราญนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นการที่เรือสำราญทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในทะเลทำให้ระบบนิเวศทางทะเลนั้นเปลี่ยนไป อีกปัญหาหนึ่งที่ได้กล่าวไว้คือการที่เรือสำราญทิ้งน้ำมันลงกลางทะเล การทิ้งน้ำมันลงในทะเลก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางทะเล ทำให้สิ่งมีชีวิตทางทะเล ระบบนิเวศทางทะเลเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตจำพวกปลานั้น เริ่มตายจากการที่มีน้ำมันจากเรือสำราญไปปกคลุมหน้าทะเล ทำให้ปลาต่างๆ ได้รับสารพิษจากน้ำมัน และตายไปในที่สุด(สามัคคี บุณยะวัฒน์ , 2550) อุตสาหกรรมของเรือสำราญนั้นได้ตอบโจทย์สำหรับการท่องเที่ยวประเภท cruise สำหรับนักท่องเที่ยวได้ดี แต่บางคนกลับไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมาของการท่องเที่ยวเรือสำราญเลย หากคนในสังคมนั้นตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเรือสำราญแล้วช่วยกันแก้ไข จะทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทางทะเล ผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลนั้นลดน้อยลงอย่างแน่นอน
สามัคคี บุณยะวัฒน์.(2550). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม.(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2560 , จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/Ebook/BOOK37/pdf/book37_7.pdf
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)