ไพฑูรย์ มนต์พานทอง (2558) ได้บอกถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมเรือสำราญว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมเรือสำราญในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวเรือสำราญตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 จนถึงปัจจุบัน พบว่าจำนวนนักท่องเรือสำราญมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค โดยเกินครึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจากอเมริกา รองลงมาเป็นกลุ่มยุโรป และมีการคาดการณ์แนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต แม้ว่าจะเผชิญกับวิกฤติและปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด หรือแม้แต่อุบัติเหตุจากเรือสำราญ แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเรือสำราญในทวีปเอเชียมีจำนวนไม่มากนักหากเปรียบเทียบกับภูมิภาคหลักอื่นๆ หากพิจารณาอัตราการเจริญเติบโตพบว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วและน่าสนใจ
แนวโน้มในประเทศ
นิธี สีแพร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว (ททท.) ระบุว่า โอกาสสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวทางเรือในประเทศไทย เห็นภาพได้ชัดขึ้น เมื่อ คอสตา ครุยส์ ผู้ให้บริการท่องเที่ยวสัญชาติอิตาลี ขยายการเดินเรือสำราญ คอสตา วิกตอเรีย เข้ามายังอ่าวไทย และการเข้ามาของคอสตา วิกตอเรีย เป็นแนวโน้มและโอกาสที่ดีที่เราจะต้องฉกฉวย ในการพัฒนาตัวเองให้เป็นท่าเรือหลัก เพราะจุดนี้ประเทศไทยก็ถือเป็นฮับของอาเซียนแล้วในการเดินทางทางอากาศ ถ้าเราสามารถพัฒนาการท่องเที่ยวทางเรือ เราจะมีโอกาสได้นักท่องเที่ยวกลุ่มเพื่อนบ้าน รวมถึงจีนตอนล่าง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของการเดินทางทางเรือสำราญได้
แหล่งที่มา :
ไพฑูรย์ มนต์พานทอง.2558.TAT Review Magazine.การท่องเที่ยวเรือสำราญกับความท้าทายของประเทศไทย.
นิธี สีแพร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว .2555. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2-5 (4)